บทความ

รำแพรวากาฬสินธุ์

รูปภาพ
รำแพรวากาฬสินธุ์  เป็นการรำเพื่อให้เห็นถึงความงดงามของผ้าไหม แพรวา ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมของ ชาวภูไท ในจังหวัด กาฬสินธุ์  ท่ารำจะสื่อให้เห็นวิธีการทอผ้า   ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการ ฟ้อนสาวไหม ของทางภาคเหนือซึ่งแสดงให้เห็นถึงกิริยาการทอผ้าไหมเช่นกัน และท่ารำนี้ยังสื่อให้เห็นความสวยงามของผ้าไหมแพรวา โดยการแต่งกายผู้แสดงจะแต่งกายด้วยการใช้ผ้าแพรวาสีต่างๆ พันอก รำแพรวากาฬสินธุ์ได้ประดิษฐ์คิดค้นการแสดงโดย คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์และดุริยางค์ โดยการควบคุมของ นายสิริชัย นักจำรูญ ผู้อำนวยการจาก วิทยาลัยนาฏศิลป์ กาฬสินธุ์ ในปี  พ.ศ. 2534 เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา การแต่งกาย พันอกด้วยสไบไหมแพรวา พับขึ้นเป็นสายพาดไหล่ด้านขวา แล้วพับเป็นแขนตุ๊กตาที่ไหล่ซ้าย นุ่งผ้าซิ่นไหมมัดหมี่ ผมเกล้ามวยประดับมวยผมด้วยดอกไม้ หรือบางทีอาจเกล้าผมและใช้อุบะห้อยผม แบบปอฝ้ายสีขาวห้อยลงมาแทนดอกไม้ และสวมเครื่องประดับเงิน  เครื่องดนตรี พิณ โปงลาง แคน โหวด ฉาบ กลองยาว ปี่ภูไท อ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B3%E0%B9%

ฟ้อนตังหวาย

รูปภาพ
 ฟ้อนตังหวายเป็นฟ้อนเพื่อบวงสรวงบูชา  โดยเฉพาะชนชาติที่อาศัยอยู่ ตามแถบลุ่มแม่น้ำโขงมีความเชื่อและยึดมั่นในการ นับถือเทวดาฟ้าดิน ภูติผีวิญญาณ ต้นไม้ใหญ่ จอมปลวก งูใหญ่ หนองน้ำใหญ่ เป็นต้น และเข้าใจว่าสิ่งที่ตนให้ความนับถือนั้นสามารถ จะบันดาลให้เกิดผลสำเร็จ หรือเมื่อเกิดอะไรที่ผิดจากธรรมดาขึ้นมาก็เข้าใจว่าสิ่งที่ตนนับถือโกรธจึงบันดาลให้เป็นไปอย่างนั้นจึงจัดให้มีการบวงสรวงบูชา หรือจัดให้มีพิธีขอขมาขึ้นมาเพื่อขอให้มีโชคลาภ โดยมีหัวหน้าเป็นผู้บอกกล่าวกับสิ่งนั้นโดยผ่านล่ามเป็นผู้บอกขอขมา มีการฆ่าสัตว์ ไก่ หมู วัว ควาย และสิ่งอื่นๆ ตามกำหนดเพื่อนำมาบูชาเทพเจ้าหรือเจ้าที่เจ้าทางที่ตนเองนับถือ เท่านั้นยังไม่พอได้มีการตั้งถวาย ฟ้อนรำถวายเป็นการเซ่นสังเวย พอถึงฤดูกาลชาวบ้านต่างจะนำเอาอาหารมาถวายเจ้าที่เจ้าทาง หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยถือว่าปีใด “ขนไก่ ไม่ตก ขนนก ไม่หล่น” ก็ถือว่าปีนั้นดี เทวดาจะให้ความคุ้มครอง จะต้องมีการจัดฉลองใหญ่โดยมีการ “ตั้งถวาย ฟ้อนรำถวาย” แต่ต่อมาคำว่า “ตั้งถวายฟ้อนถวาย” คำนี้ได้สึกกร่อนไปตามความนิยมเหลือเพียงคำสั้นๆ ว่า “ตั้งหวาย” หรือ “ตังหวาย”   ฟ้อนตังหวายกั

ประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี

รูปภาพ
การปกครองสมัยกรุงธนบุรี การปกครองสมัยกรุงธนบุรียึดถือตามแบบอย่างอยุธยา สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ คือแบ่งส่วนราชการออกเป็น                1. การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วยอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง ได้แก่                - สมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน และดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ                 - สมุหพระกลาโหม เป็นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร และดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ การบริหารราชการแบ่งออกเป็น 4 กรม เรียกว่า จตุสดมภ์ ประกอบด้วย                 - กรมเวียง (นครบาล) มีหน้าที่ปกครองท้องที่ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง                 - กรมวัง (ธรรมาธิกรณ์) มีหน้าที่เกี่ยวกับราชสำนัก และช่วยพระมหากษัตริย์พิจารณาคดีความของราษฎร จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์ - กรมคลัง (โกษาธิบดี) มีหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน และเก็บรักษาพระราชทรัพย์ที่ได้มาจาก ส่วย อากร และบังคับบัญชากรมท่า ซี่งเกี่ยวข้องกับการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ                 - กรมนา (เกษตราธิการ) มีหน้าที่ดูแลนาหลวง เก็บภาษี (หางข้าว)                 2. การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งหัวเมืองออกเป็น  

เครื่องปริ้น

รูปภาพ
เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่จะผลิตข้อความหรือกราฟิกของเอกสารที่เก็บไว้ในรูปแบบ อิเล็กทรอนิกส์ ออกมาในสื่อทางกายภาพเช่นกระดาษหรือแผ่นใส เครื่องพิมพ์ส่วนมากเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปและเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลเครื่องพิมพ์หรือในเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่จะเป็นสายยูเอสบี   เครื่องพิมพ์บางชนิดที่เรียกกันว่าเครื่องพิมพ์เครือข่าย(Network Printer) อินเตอร์เฟซที่ใช้มักจะเป็น แลนไร้สาย และ/หรือ อีเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการพิมพ์สมัยใหม่ เครื่องพิมพ์ระบบเลเซอร์  (Laser printer หรือ Toner-based printers) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับ เครื่องถ่ายเอกสาร  คือการยิง เลเซอร์ ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก ยุคแรกเริ่มเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ มีราคาสูงมาก แต่ปัจจุบันมีการแข่งขันของผู้ผลิตค่อนข้างสูง จึงทำให้หาซื้อได้ในราคาที่ถูกลง ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่า เครื่องพิมพ์ระบบพ่นหมึก  และคุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่นหมึก โดยในปัจจุบันเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเล